Case Report


Case report ตอน High exophoria



Case report ตอน High exophoria 


      บางครั้งปัญหาระบบสายตาก็ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเสียจนค้นหาปัญหาของตัวเองยากมาก ๆ ลูกค้ารายนี้ก็เช่นเดียวกันมีปัญหามองเห็นภาพซ้อนทั้งใกล้และไกลเคยไปปรึกษาร้านแว่นแต่ก็ไม่มีร้านไหนแก้ไขปัญหาให้ได้ เคยไปหาจักษุแพทย์ คุณหมอตรวจดูก็ไม่พบความผิดปรกติอะไร  จนลูกค้าคิดว่าคงแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้ว จนวันหนึ่งลูกค้าได้สืบเสาะแสวงหาจนมาเจอกับทางออกที่ "ศูนย์แวนตาเรือนทอง" เมื่อไปพบเฟสบุ๊คแฟนเพจของทางร้านและได้อ่านบทความที่ผมเขียนเรื่องตาเหล่ซ่อนเร้น ทำให้ลูกค้าเริ่มมีความหวังและได้เดินทางมายังร้าน เมื่อเดินทางมาถึงลูกค้าก็เริ่มเล่าปัญหาของตัวเองให้ฟังอย่างละเอียด โดยสรุปดังนี้

      1.มองเห็นภาพซ้อนในระยะไกล ยิ่งเมื่อพักผ่อนน้อยภาพซ้อนที่เห็นจะชัดเจนกว่าปรกติ

       2.เวลาอ่านหนังสือหรือดูระยะใกล้นาน ๆ จะเกิดภาพซ้อน ตัวหนังสือกระโดดไปกระโดดมา อ่านจับใจความไม่ได้ต้องอ่านซ้ำ ๆ

       3.แพ้แสง แสบตา น้ำตาไหล

       4.มีอาการตาล้าตาเพลียช่วงบ่าย และง่วงอยากนอนหลับ

       5.เป็นมาได้ประมาณ 2 ปี

       6.ลูกค้าอายุ 26 ปี ไม่มีโรคประจำตัวอะไร ไม่แพ้ยาอะไร

        เมื่อได้ซักประวัติเรียบร้อยจึงได้ทำการตรวจเบื้องต้นด้วย cover-uncover test และ ultinate cover test ก็พบความผิดปรกติ โดยเป็น Exophoria ทั้งใกล้และไกล

        หลังจากนั้นผมจึงทำการตรวจอย่างละเอียดโดยใช้วิธีเฉพาะทางคลินิกตรวจฟังก์ชันการทำงานของกล้ามเนื้อตาทั้งระบบ ได้ผลการตรวจวัดสายตาและกล้ามเนื้อตาดังนี้

        RE. = -0.50 – 0.50 x 105

        LE. = 0.OO – 0.50 x 85

        Hight Exophoria 8 prism @ Near

        Hight Exophoria 16 prism @ Distance

        AC/A = 4:1

        -ลูกค้ามีเหล่ออกแบบซ่อนเร้นปริมาณสูงทั้งใกล้และไกล

        - ลูกค้ามี positive fusional vergence ในระยะใกล้ต่ำ

        - ลูกค้ามี BO Reserve ในระยะไกลต่ำ

 

แนวทางในการแก้ไข

      ในตอนแรกทางร้านจะแก้โดยการให้ใส่เลนส์สายตาพร้อมกับปริซึมให้ข้างละ 2 prism แต่เมื่อทดลองบน Trial-farm ลูกค้าบอกว่ามองตรง ๆ ชัดเจนไม่มีภาพซ้อนแต่เวลาหันศีรษะจะรู้สึกวูบ ๆ หลอก ๆ ตา ทางร้านจึงลดปริมาณปริซึมลงให้เหลือเพียงข้างละ 1 prism ลูกค้ารู้สึกสบายตาขึ้นมีภาพซ้อนนิด ๆ แต่เมื่อสวมใส่สักพักภาพซ้อนก็หายไป รู้สึกสบายตาดีกว่าตาเปล่าเยอะมาก ทางร้านจึงตัดสินใจจ่ายเพียงข้างละ 1 prism เพื่อให้ปรับตัวง่ายและนัดตรวจอีกครั้งในอีก 1 เดือน เพื่อดูการปรับตัวและพิจารณาการจ่ายปริมาณปริซึมอีกครั้งหนึ่ง โดยสายตาที่จ่ายในครั้งนี้เป็นดังนี้

RE. = -0.50 – 0.50 x 105 1 prism BI

LE. = 0.00 -0.50 x 85 1 prism BI

       วันที่ลูกค้ามารับแว่นลูกค้ารู้สึกภาพหรอก ๆ ตาในช่วงแรกที่สวมแว่นแต่ภาพซ้อนลดลงอย่างมาก สักพักลูกค้าเริ่มปรับตัวได้ลูกค้าเริ่มสบายตามากขึ้น เห็นภาพมีมิติยิ่งขึ้น สบายตามากยิ่งขึ้น อ่านหนังสือได้นานขึ้น ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจและประทับใจมาก ทางร้านจึงแนะนำให้ลูกค้าบริหารกล้ามเนื้อตาร่วมด้วยเพื่อทำให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรงขึ้นการ fusion ของภาพจะได้ดีขึ้น และเมื่อแนะนำการใช้งานเสร็จเรียบร้อยทางร้านจึงนัดตรวจอีกครั้งใน 1 เดือนข้างหน้า

       เป็นอันว่าจบไปอีก 1 case ผมเองในฐานะผู้ให้บริการอยากจะบอกว่าปัญหาทางสายตานั้นเป็นอะไรที่มากไปกว่าความคมชัดเพียงอย่างเดียว ยังมีเรื่องปัญหากล้ามเนื้อตามาให้ตรวจและพิจารณาร่วมด้วยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นทุกปัญหาสายตาต้องตรวจ,วิเคราะห์,แยกแยะทุกปัญหาอย่างละเอียดเพื่อความสมบูรณ์แบบทางด้านการมองเห็นอย่างสูงสุด

หมายเหตุ

         ในส่วนการพิจารณาจ่ายเลนส์ปริซึมนั้นเราเองในฐานะผู้ให้บริการต้องวิเคราะห์อย่างละเอียด หากจ่ายในปริมาณที่เยอะอาจช่วยใช้ภาพซ้อนหายไปเมื่อมองมุมตรง แต่เวลาหันศีรษะจะรู้สึกมึนงงและอาจทำให้ปรับตัวไม่ได้ เราจึงต้องจ่ายในปริมาณที่เหมาะสมและต้องช่วยลดปัญหาของลูกค้าได้จริง ๆ และหลังจากนั้นเมื่อลูกค้าปรับตัวได้แล้วก็จำเป็นที่จะต้องนัดตรวจอีกครั้งเพื่อประเมินปริมาณปริซึมที่จ่ายอีกครั้งว่าจำเป็นต้องจ่ายเพิ่มปริมาณปริซึมหรือไม่ 

                                                                     

                                                                    นายอนิรุจน์ เรือนทองดี

                                                            ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการมองเห็น 


[2020-03-05]