สาระน่ารู้


ตาเข ตาเหล่ (Strabismus)



ตาเข ตาเหล่ (Strabismus)

     โดยปรกติแล้วคนเราเวลามองวัตถุลูกตาจะกลอกไปด้วยกันเสมอ จะมองไปในทิศทางเดียวกัน และ จะมองเห็นพร้อมกันทั้งสองตา และ จะทำงานประสานกัน รวมภาพที่เห็นจากทั้งสองตาเป็นภาพเดียวกันเราเรียกการมองแบบนี้ว่า Binocular vision (แต่เวลามองใกล้ตาทั้งสองข้างจะกลอกเข้าหากัน) แต่คนที่เป็นตาเข ตาเหล่ ตาทั้งสองข้างจะไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เราแบ่งตาเข ตาเหล่ ออกเป็น 2 ชนิดคือ

1.ตาเข ตาเหล่ ประเภทสังเกตเห็นได้ง่าย (Manifest strabismus) สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน แบ่งออกตามชนิดการเกิดได้อีก 2 คือ

- Tropia เกิดจากกล้ามเนื้อกลอกตาเป็นอัมพาต ลูกตาไม่สามารถกลอกไปในทิศทางที่เป็นอัมพาตได้เลยโดยจะกลอกได้เฉพาะทางที่กล้ามเนื้อไม่เป็นอัมพาตเท่านั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเห็นภาพซ้อน สาเหตุจะเกิดจากกรรมพันธุ์เป็นแต่กำเนิด หรืออาจเป็นตอนหลังสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อโดยตรง โรคมะเร็ง หรือโรคหลอดเลือด เป็นต้น เมื่อตาเห็นภาพซ้อนสมองจึงเลือกมองข้างที่ดีที่สุดเพียงข้างเดียวและตัดสัญญาณภาพข้างที่ด้วยกว่าทิ้งทำให้ตาข้างที่ด้วยกว่ากลายเป็นตาเขส่วนจะเขแบบไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

-- Intermittent tropia ลูกตาสามารถกลอกไปได้ทุกทิศทาง เวลาโฟกัสภาพเพื่อให้คมชัดตาจะตรง แต่เวลาเหม่อหรือเมื่อร่างกายอ่อนแอจะสังเกตุเห็นอาการเหล่นั้น สาเหตุอาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือสายตาสองข้างต่างกันมากแต่ไม่ได้รับการแก้ไขจนทำให้ข้างที่ด้อยกว่าเป็นตาเข ตาเหล่ เป็นต้น

2.ตาเขซ้อนเร้น (Phoria) ตาเขชนิดนี้จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้เมื่อมองสองข้างพร้อมกัน จะสามารถสังเกตเห็นได้เมื่อมีการ Break fusion 

รูปแบบของการเขมีหลายชนิดคือ

1.Horizontal type การเขชนิดเขแนวนอน แบ่งเป็น

-Esotropia(เหล่เข้าแบบสังเกตเห็นได้), Esophoria(เหล่เข้าแบบซ้อนเร้น)

- Exotropia(เหล่ออกแบบสังเกตเห็นได้), Exophoria(เหล่ออกแบบซ้อนเร้น)

2.Vertical type การเขชนิดเขแนวตั้ง แบ่งเป็น

-Hypertropia(เหล่ขึ้นบนแบบสังเกตเห็นได้), Hypertropia(เหล่ขึ้นบนแบบซ่อนเร้น)

-Hypotropia(เหล่ลงต่ำแบบสังเกตเห็นได้), Hypertropia(เหล่ลงต่ำแบบซ่อนเร้น)

3.Combined type ตาเขแบบผสม การเขชนิดนี้จะเกิดร่วมกันของ 2 แนวคือทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน

การรักษาภาวะตาเข

1.ตาเขชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิดสามารถรักษาได้ก่อนที่เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโต จะทำโดยการผ่าตัดในช่วงก่อนอายุ 2 ปีแรก ในรายที่เป็นตาเขหลังจากอายุ 6 เดือน สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดและจะสามารถกลับมามองเห็นได้และยังสามารถรักษาภาวะการณ์มองเห็น 2 ตา (Binocular vision) เอาไว้ได้อีกด้วย

2.ตาเขซ้อนเร้น รักษาได้โดยสวมแว่นตา, สวมแว่นตาที่เป็นเลนส์ปริซึม, บริหารกล้ามเนื้อตา หรืออาจสวมแว่นตาที่เป็นเลนส์ปริซึมควบคู่ไปกับการบริหารกล้ามเนื้อตา

3.ตาเขชนิดที่สังเกตุเห็นชัดเจนเมื่อทำการผ่าตัดให้ตาตรงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่นั้นจะไม่สามารถแก้ไขการมองเห็นให้กลับมาเป็นปรกติได้ จะแก้ไขให้ตาตรงและแลดูสวยงามเท่านั้น
 

                                                                                                       

                       นายอนิรุจน์ เรือนทองดี

            ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการมองเห็น 
 


[2020-03-03]