โรคออฟฟิตซินโดรม (Office syndrome)
โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา อุปกรณเครื่องใช้สำนักงานจัดวางอย่างไม่เหมาะสม หรืออาจจะไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายในขณะทำงานเลย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ เกร็ง และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า คอ แขน หรือข้อมือ
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม- Office syndrome
- การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ไม่มีการปรับเปลี่ยนท่าทาง
- ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่นท่านั่ง การวางตำแหน่งศีรษะ
- สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานจัดวางอย่างไม่เหมาะสม
-สภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร ทานอาหารผิดเวลา การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย
‼️ อาการปวดเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อ จะรู้สึกเกร็งเหมือนกล้ามเนื้อถูกดึงรั้ง นานวันเข้าจากอาการแค่ปวดกล้ามเนื้อ อาจกลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปวดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา คอ ข้อมือ ไหล่ หลัง ซึ่งปวดมากหรือปวดน้อยก็แล้วแต่การสะสมของโรค
วิธีดูแลและป้องกันตนเองจากโรค ออฟฟิตซินโดรม
หากจะเริ่มต้นดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ต้องมาเริ่มจากการนั่ง เพราะท่านั่งที่ดี และการจัดสิ่งของให้หยิบจับสะดวก อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ก็จะทำให้ป้องกันอาการโรคนี้ได้ ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้องนั้นทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1.จอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับเดียวกับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อยประมาณ 15 องศา และห่างจากตา 12-18 นิ้ว (ถ้าจอแบน) ห่างจากตา 18-24 นิ้ว (ถ้าจอแบบเก่า)
2.ไม่ยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ปรับพนักพิง 90-100 องศา
3.ศอกตั้งฉากกับลำตัว , คียบอร์ดอยู่ระดับเดียวกับเมาท์ ไม่อยู่ในลิ้นชัก
4.สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน ความสูงของเก้าอี้ต้องพอดี
5.มีที่วางพักเท้าเวลานั่งทำงานนาน เพื่อไม่ให้เท้าลอยขึ้นมา
6.ทำงานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ควรพักสายตามองแสงสีเขียวบ้าง ควรลุกเปลี่ยนท่าทางบ้าง อย่างน้อย 5-10 นาที
7.หาแว่นตากรองแสงจากจอคอมพิวเตอร์มาสวมใส่เพื่อป้องกันแสงสีฟ้า และป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
แต่ในยุคปัจจุบันนี้ คนจำนวนมาก นิยมใช้คอมพิวเตอร์ notebook กันมาก ซึ่งการใช้งาน notebook ก็จะต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอาการออฟฟิศ ซินโดรมด้วย
สำหรับผู้ที่ทำงานกับพวกโน๊ตบุ๊ค หรือ เน็ตบุ๊คนั้น ให้จัดวางและทำท่านั่งตามขั้นตอนดังนี้
1.วางโน๊ตบุ๊คบนโต๊ะ ให้จออยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อยประมาณ 15 องศา
2.หาเมาส์ และแป้นพิมพ์มาต่อเพิ่ม ปรับทุกอย่างให้เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
3.วลาทำงานไปนานๆ ควรมีหมอนนุ่มมาวางพักข้อมือ
4.ไม่นอนเล่นโน๊ตบุ๊ค เพราะจะทำให้สายตาเสียได้
5.ไม่เล่นขณะที่แสงไฟไม่เพียงพอ หรือห้องมืดเกินไป
6.พักสายตาและข้อมือ หากเล่นนานเกิน 1 ชั่วโมง
7.สวมแว่นตากรองแสงจากจอคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันแสงสีฟ้า และป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
ซึ่งหากทำตามขั้นตอนท่านั่งที่ถูกต้องแล้ว จะไม่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่า หรือปวดไหล่ ปวดตา และนิ้วล็อกด้วย และนี่คือท่านั่งบำบัดโรคออฟฟิศ ซินโดรม แต่ยังมีวิธีป้องกันอื่นๆอีกที่จะช่วยแก้ปัญหานิ้วล็อค ปวดตา ได้ด้วย
อันตรายของโรคออฟฟิศซินโดรม
1. เสี่ยงต่ออาการหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกทับประสาท ซึ่งอาจเป็นขั้นหนักถึงกับต้องทำกายภาพบำบัด
2. เสี่ยงต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้ เนื่องจากบรรยากาศภายในออฟฟิศมักมีอากาศที่ไม่ถ่ายเท รวมทั้งฝุ่งผงบนพื้นพรม เครื่องถ่ายเอกสารต่างๆ
3. โรคอ้วน เนื่องจากนำมาอาหารมาทานบนโต๊ะ หรือทานในออฟฟิศ ไม่ได้เดินไปไหนมาไหนมาก การเผาผลาญพลังงานในแต่ละวันลดลง หากไม่มีเวลาไปออกกำลังกาย ยิ่งเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้มากขึ้นยิ่งขึ้น
4. เสี่ยงเป็นโรคติดต่อ เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนรอบข้างไม่สบาย เป็นหวัด หรือเป็นโรคติดต่อชนิดอื่นๆ หากเรามีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไม่แข็งแรงพอ ก็มีสิทธิ์ติดโรคติดต่อเหล่านั้นได้โดยง่าย
เมื่อรู้แล้วก็ดูแลและป้องกันตัวเองจากโรคออฟฟิศซินโดรมกันนะครับ ด้วยความปารถนาดีจาก "ศูนย์แว่นตาเรือนทอง"
นายอนิรุจน์ เรือนทองดี
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการมองเห็น