สาระน่ารู้


สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)



สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)

สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) อ่านว่าสูโดมายโอเปีย
ต้องยอมรับว่ายุคปัจจุบันเป็นโลกของเทคโนโลยี และเป็นยุคของโลกออนไลน์ เพราะฉะนั้นการใช้คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีผลต่อการใช้ชีวิตและมีผลต่อกระทบต่อสุขภาพตามมาอีกด้วย ทั้งในเรื่องติดจออยู่หน้าจอนานเกินไปจนเกิดเป็นโรคออฟฟิตซินโดรม เทคเน็กซินโดรม เป็นโรคซึมเศร้า และในปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งปัญหาของการใช้สายตาที่เกิดขึ้นนั่นคือ สายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia) ซึ่งเป็นผลจากการใช้สายตาระยะใกล้ ใช้สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์เป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ โดยไม่ได้พักสายตา
 

         

   

สาเหตุการเกิดของสายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia)    

โดยปรกติเมื่อเรามองไกลเลนส์ตาของเราจะอยู่ในสถานะผ่อนคลายนั่นก็คือกล้ามเนื้อ Ciliary body ในลูกตาเกิดการคลายตัว แต่เมื่อเรามองใกล้ กล้ามเนื้อที่อยู่ใน Ciliary body ในลูกตาจะเกิดการหดตัวเพื่อทำให้เลนส์ตาเปลี่ยนรูปและเพิ่มกำลังการหักเหทำให้เรามองภาพระยะใกล้ชัด แต่ถ้าหากเราเพ่งมองระยะใกล้เช่นใช้สมาร์ทโฟน , แท็บเล็ต , คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกันโดยไม่ได้พักสายตาเมื่อเราเงยศีรษระมองไกลจะทำให้เลนส์ตาและกล้ามเนื้อใน Ciliary body ในลูกตาคลายตัวไม่ทัน เกิดอาการเกร็งค้าง(Spasm) ส่งผลให้มองไกลไม่ชัด และนำไปสู่การเกิดปัญหาสายตาตามมานั่นก็คือสายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia) นั่นเองครับ
สายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia) ไม่ได้เป็นตลอด ถ้าหากเราได้พักผ่อนในเวลาที่เหมาะสมและได้มองไกล(ไกลกว่า 6 เมตร)กล้ามเนื้อใน Ciliary body ในลูกตาก็จะค่อยๆคลายตัวและการมองเห็นก็จะกลับมาเป็นปรกติได้ แต่ถ้าหากเราใช้สายตาเพ่งมองระยะใกล้ ๆ มาก ๆ นาน ๆ โดยไม่พักสายตา จากปัญหาสายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia) ก็สามารถเปลี่ยนเป็นสายตาสั้นแท้ได้ในที่สุด วิธีสังเกตสายตาสั้นเทียมอาจสังเกตได้จากเวลามองไกลบางครั้งก็ชัดเป็นปรกติ บางครั้งก็ไม่ชัด ผิดกับคนที่เป็นสายตาสั้นแท้ซึ่งเวลามองไกลจะมัวตลอดเวลาถ้าหากไม่ใส่แว่น
 
อาการของคนที่เป็นสายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)
 
ผลกระทบจากสายตาสั้นเทียมจะทำให้มีอาการแพ้แสง แสบตา ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ ปวดกระบอกตา ปวดศรีษระ บางรายอาจจะเห็นภาพซ้อน และหากเป็นมากอาจทำให้เป็นตาเหล่ซ่อนเร้นชนิดเหล่เข้าใน(esophoria) ได้

       

กลุ่มเสี่ยงจากโรคสายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia) 

1.กลุ่มคนที่อายุไม่เกิน 30 ปี กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงจากโรคนี้มากที่สุด เพราะวัยนี้จะมีกำลังเพ่งมาก หากใช้อุปกรณ์ดิจิตอลมาก ๆ หรือใช้สายตาระยะใกล้มาก ๆ ควรได้พักสายตาเป็นระยะ ๆ
2.กลุ่มคนที่ชอบอ่านหนังสือในที่ ๆ แสงสว่างไม่เพียงพอ โดยระบบประสาท Parasympathetic จะถูกกระตุ้นมากเกินไป
3.กลุ่มคนที่มีภาวะสายตาเอียง(Astigmatism)และไม่ได้แก้ไข กลุ่มนี้จะใช้สายตาเพ่งมองมากเพราะต้องการรวมภาพให้เกิดความคมชัด จึงเมีโอกาสเกิดเป็นสายตาสั้นเทียมเกิดขึ้นได้
4.คนที่มีโรคบางอย่างที่ทำให้ Ciliary หดตัว ทำให้เลนส์ตาพองตัว ส่งผลให้เป็นสายตาสั้นเทียมได้
5.กลุ่มคนที่ทานยาคลายเคลียดในกลุ่ม Phenothiazine หรือยาคลายกล้ามเนื้อหรือยารักษาต้อหิน ยากลุ่มนี้อาจส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ Ciliary ทำให้เป็นสายตาสั้นเทียมได้
6.โรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด Parasympathetic ที่มากเกินไป
7.โรคตาบางชนิดทำให้ Ciliary ทำงานหนักมากขึ้น เช่น ยูเวียอักเสบ (Uveitis) ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน, ยา Chloroquine, ยา Diamox, ยา morphine ที่ใช้บรรเทาปวด , ยา digitalis ใช้รักษาโรคหัวใจล้มเหลวและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาต่าง ๆที่กล่าวเหล่านี้ก็ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเทียมได้เช่นกัน


             

การดูแลและแก้ไขปัญหาสายตาสั้นเทียม

1.หากมีปัญหาสายตาให้แก้ไขให้ถูกต้อง
2.ใช้สายตาในระยะเวลาที่เหมาะสมและพักสายตาเป็นระยะ ๆ เช่นใช้สายตามองใกล้ 1 ชั่วโมง พักสายตาประมาณ 5 -10 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย เช่นมองแสงสีเขียวต้นไม้ใบไม้จะช่วยให้กล้ามเนื้อตาคลายตัวได้ดี
3.บริหารกล้ามเนื้อตาและทานอาหารที่มีประโยชน์
4.ไม่ควรใช้สายตาในที่ ๆ มีแสงสว่างไม่เพียงพอ และไม่ควรใช้สายตามองตัวอักษรที่เล็กมากนานเกินไปเพราะเลนส์ตาจะถูกกระตุ้นให้เพ่งมากเกินไป
????TIP ข้อควรระวังในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรให้เล่น คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ส่วนเด็กที่อายุ 2-5 ปี ไม่ควรเล่นเกิน 2 ชั่วโมง ต่อวัน                                            

[2020-03-04]